top of page

โรคซึมเศร้า Major Depressive Disorder (MDD)

Woman on Window Sill

Major Depressive Disorder

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

1.ความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง สารเคมีในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเปลี่ยนแปลงลดลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำให้เกิดความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน

2.กรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัวเคยป่วย เราก็มีโอกาสและมีความเสี่ยงที่จะเป็นด้วยเช่นกัน

3.การเผชิญเรื่องเครียด เชื่อว่าการเจอมรสุมชีวิตโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว ก็เป็นเรื่องที่เครียดสำหรับเรามากๆ อาจจะเป็นการตกงาน มีปัญหาเรื่องเงิน ความรัก การสูญเสียคนที่เรารัก ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้ทั้งหมด

อาการทั่วไปของโรคซึมเศร้า 

เราสามารถสังเกตตัวเองได้ได้จากอาการเศร้า เสียใจ และท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร แบบไม่ทราบสาเหตุ ลองสังเกตตัวเองสัก2อาทิตย์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 5 อย่างแสดงว่าคุณกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

  • รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีค่า ว่างเปล่า ไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร

  • รู้สึกเศร้า หรือหงุดหงิดง่าย  กระวนกระวายใจอยู่บ่อย

  • หมดความสนใจในงานอดิเรกหรือกิจกรรมต่างๆ

  • น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเบื่ออาหาร กินน้อย

  • นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

  • ไม่มีสมาธิ หลงๆลืมๆ ใช้เวลาในการตัดสินใจนานกว่าปกติ

  • คิด พูด ทำงานช้าลง

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยเครื่องกระตุ้นสมอง Deep TMS

 

Deep TMS เป็นการเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในหมวกแล้วส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคล้าย MRI ผ่านกระโหลกศรีษะไปยังตำแหน่งของสมองที่ต้องการปรับการทำงาน สนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทในบริเวณนั้น ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพบว่ามีการทำงานของสมองส่วนหน้าทางซีกซ้ายน้อยกว่าปกติและทางซีกขวามากกว่าปกติ ซึ่งการรักษาด้วยเครื่อง Deep TMS จะช่วยปรับการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติได้

การรักษาด้วย Deep TMS ใช้เวลาเพียง 20นาที วันละ 1 ครั้งโดยในช่วง Acute Phase หรือ 1 เดือนแรกควรทำต่อเนื่อง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่หลังทำครั้งที่ 5 อาการจะดีขึ้น จากนั้นแพทย์จะประเมินว่าต้องทำอีกกี่ครั้งและทิ้งระยะห่างอย่างไร โดยรวมจะทำทั้งหมด 20-30 ครั้ง แต่หากหายจากโรคก่อนก็หยุดการรักษาได้เลย ในกรณีที่จบคอร์สแล้วยังมีช่วงที่อาการไม่นิ่งอยู่บ้าง แพทย์อาจนัดมา กระตุ้นเดือนละ 1-2 ครั้งเพื่อให้อาการคงที่ต่อเนื่อง 

การปล่อยปละละเลยและไม่ได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด นอกจากจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นแล้ว ยังอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อีกด้วยเพราะผู้ป่วยมักทำอะไรลงไปโดยไม่มีสติ จึงควรเข้ารับการรักษาเพื่อเป็นทางที่ดีที่สุดค่ะ

bottom of page