โรงพยาบาลมนารมย์ บางนา กรุงเทพฯ
Tel: 02 -725-9595



ขั้นตอนการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
-
ค้นหาตำแหน่งที่ตอบสนองดีที่สุด และค่าความแรงต่ำที่สุดในการกระตุ้นโดยดูการตอบสนองที่มือขวาของผู้ป่วย
-
สวมใส่หมวกอุปกรณ์ให้ตรงตามตำแหน่งที่ใช้ในการกระตุ้น
-
ทดสอบการกระตุ้นโดยดูการการตอบสนองของผู้ป่วย
-
ทำการกระตุ้นตามแนวทางที่กำหนด



การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
-
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มี alcohol ในคืนก่อนทำการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
-
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มี caffeine ก่อนการรักษาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
-
ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ตรวจวัดไข้ และสัญญาณชีพอื่นๆ ก่อนทำการรักษาทุกครั้ง
-
หากมีอาการเจ็บป่วยอื่นหรือมียารับประทานเพิ่มเติมจากเดิมจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง



ภาวะแทรกซ้อน และความเสี่ยงจากการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
-
อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ กระตุกบริเวณศีรษะ และใบหน้า ในระหว่างการกระตุ้นหากมีอาการรู้สึกไม่สบายตัวหรือผิดปกติควรแจ้งให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องมือทราบโดยด่วน
-
อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน หลังการกระตุ้น อาการมักเป็นเล็กน้อยและมีอาการเพียงชั่วคราว
-
อาจเกิดอาการรำคาญหรือไม่สบายที่ศีรษะขณะที่กระตุ้นและถูกรบกวนด้วยเสียงดังขณะทำการกระตุ้น
-
อาจทำให้เกิดอาการชัก ผู้ป่วยจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาและอาหารเสริมที่รับประทานอยู่



คำแนะนำหลังการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกครั้งอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและง่วงนอนหลังการกระตุ้น ควรนั่งพักและดื่มน้ำให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการขับรถ หากจำเป็นควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และขับขี่เมื่อรู้สึกพร้อม
